default_mobilelogo

             เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโลร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIAและศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์  (TCELS) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “โครงการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมการแพทย์”เมื่อวันที่ 4มิถุนายน 2563ณ ห้องประชุม We Happy โรงพยาบาลพญาไท 1 กรุงเทพฯ ระหว่างเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล และย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District: YMID) เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถของบุคคลากร ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการวิจัย และผลักดันให้นวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ ตลอดจนร่วมสร้างเครือข่ายภูมิภาคอาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการแพทย์ของ เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล องค์กรและหน่วยงานในย่านนวัตกรรมสุขภาพโยธี นับเป็นการวางรากฐานและสร้างต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ไทยให้มีศักยภาพที่เข้มแข็งทัดเทียมการแข่งขันระดับโลก

          นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล กล่าวว่า “ความสำเร็จของประเทศไทยเรื่องคุณภาพการจัดการด้านสาธารณสุขและการแพทย์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนแล้วว่า เราเป็นประเทศที่มีความมั่นคงในด้านธุรกิจสุขภาพที่ดีลำดับต้นๆของภูมิภาคและของโลก ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากนโยบายและการส่งเสริมของภาครัฐในมิติต่างๆ ประกอบกับศักยภาพของภาคเอกชน ทำให้คนไทยในวันนี้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์ได้ทั่วถึงและสะดวกสบายยิ่งขึ้น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยชาวต่างชาติเลือกเดินทางมารักษาตัวในประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆและมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง การที่ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในเวทีโลกนั้น การขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งสำคัญ สอดคล้องกับนโยบายของเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร  ผ่านการศึกษา และงานวิจัยเพื่อนำมาสนับสนุนและพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆทางการรักษาโรค และการให้บริการด้านสุขภาพ แก่ผู้รับบริการเสมอมา

          ทั้งนี้ เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล จะมีบทบาทสำคัญในการเตรียมนำองค์ความรู้และความเป็นเลิศทางด้านการแพทย์ บุคลากรชั้นนำที่มี เพื่อพัฒนาและสนับสนุนบุคลากรนักวิจัย ยกระดับขีดความสามารถบุคลากรสู่ความเป็นนวัตกร(Innovator)ชั้นนำทางด้านพัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่ที่สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้   โดยเตรียมสร้างหลักสูตรในเรื่องของ  Medical Knowledge เพื่อพัฒนาและผลิตนวัตกรคุณภาพสู่วงการแพทย์ไทย ที่มีศักยภาพการแข่งขันรองรับการก้าวสู่การเป็นผู้นำทางการแพทย์และสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต

          นับเป็นความภาคภูมิใจและความท้าทายสำคัญของเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาย่านนวัตกรรมทางการแพทย์โยธี และถือเป็นโอกาสที่ดีในการดึงศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์และนักวิจัยชั้นนำของเครือโรงพยาบาลฯ และความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ซึ่งจะช่วยกันคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่ หากความร่วมมือสำเร็จ จะทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างผลิตภัณฑ์เองได้ จะช่วยลดการนำเข้าเครื่องมือทางการการแพทย์จากต่างประเทศได้ ซึ่งจะเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำไทยไปสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ทุกด้านและสามารถแข่งขันระดับโลกได้”

          ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติกล่าวว่า “การพัฒนาย่านนวัตกรรม คือ การวางแผนและออกแบบพื้นที่และสังคมเมืองให้เหมาะสมสำหรับรองรับกลุ่มคลัสเตอร์ของธุรกิจนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ โดยอาศัยจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ และกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในย่านนั้น ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เกิดย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ต้องอาศัยการพัฒนาทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ หรือแม้แต่การพัฒนาการวิจัยทางการแพทย์ เพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าทางเศษฐกิจ ให้เกิดการลงทุนด้านบริการทางการแพทย์และสุขภาพ รองรับการเติบโตของอุตสากรรมการแพทย์ในด้านต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความร่วมมือระหว่างNIA เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล  และ TCELS ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมมือส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรเหล่านี้ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับย่านนนวัตกรรมการแพทย์โยธีที่ ให้เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมการแพทย์อย่างแท้จริง”

          ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์กล่าวว่า “โครงการย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีถือเป็นหนึ่งโครงการที่จะช่วยผลักดันงานนวัตกรรมการการแพทย์ไทยให้ก้าวกระโดด เนื่องจากเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานย่านฯ หลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล กรมแพทย์ทหารบก และอีกหลายสถาบันภายใต้กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แต่ละหน่วยงานมีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมเป็นอย่างมาก ทีเซลส์ (TCELS) เป็นตัวแทนของหน่วยงานผู้บริหารจัดการย่านฯ และเป็นได้ให้การสนับสนุนที่จะทำให้ย่านฯ ประสบความสำเร็จ โดยปัจจุบันทีเซลส์ (TCELS)ได้ริเริ่มดำเนินการกับเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโลไปแล้วหลายเรื่อง โดยเรามีเป้าหมายร่วมกันที่จะผลักดันให้เกิดงานนวัตกรรมทางการแพทย์ขึ้นภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยและพัฒนาทางด้านการแพทย์แม่นยำ บนฐานของรหัสพันธุกรรมมนุษย์ หรือ Genomics รวมถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรค เป็นต้น ส่วนตัวคิดว่าหากภาคเอกชนมีความเข้มแข็งเช่นนี้ก็จะผลักดันให้อุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศเติมโตได้อย่างยั่งยืน”

          สำหรับแผนการดำเนินงานพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ประกอบด้วย 3ส่วนหลัก คือ การพัฒนาเป็นพื้นที่ด้านนวัตกรรม (Area of Innovation) แบ่งออกเป็น3ระยะ คือ ระยะ 5ปีแรก จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยที่มีศักยภาพสูง สอดคล้องกับมาตรการและนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ ระยะ 10 ปี จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเชิงกายภาพให้กับพื้นที่เพื่อส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และทดลองนวัตกรรม และการสร้างโครงข่ายสัญจรเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานภายในพื้นที่อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และระยะ 20 ปี จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเชิงกายภาพรองรับและสนับสนุน

          การบริหารจัดการสินทรัพย์ด้านนวัตกรรมภายในย่าน (Innovation Asset Management) มุ่งเน้นการพัฒนา 3ส่วนหลักๆ  ซึ่งประกอบด้วย ด้านกายภาพ (Physical asset) การบริหารจัดการพื้นที่สถาบันการแพทย์และการวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ด้านเศรษฐกิจ (Economic asset) การบริหารจัดการระบบนิเวศ (Ecosystem) และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและด้านการแพทย์ในย่านนวัตกรรมโยธี การผลักดัน Healthtech startupการบริการและมีส่วนร่วมในการสร้างแพลตฟอร์มภายในย่านด้านเครือข่าย (Networking asset) การพัฒนาและการจัดการสินทรัพย์ด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ของย่านโยธี ผ่านการสร้างฐานข้อมูล (Big Data ) สร้างให้เกิดการเชื่อมโยงSoft resource person ของย่านฯ โดยเข้าถึงได้จาก http://www.ymid.or.th/เชื่อมโยงสื่อสารเพื่อดูแลรักษา สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการแพทย์ การรักษาโรค และการดูแลสุขภาพ และเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารให้แก่ผู้ใช้บริการ 

          ส่วนประกอบสุดท้าย คือ การจัดการโครงการด้านการแพทย์ภายในย่าน (Project Innovation) มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายและขยายผลนวัตกรรมสุภาพที่มีอยู่ในพื้นที่ให้สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง